บุญผะเหวดร้อยเอ็ด

"บุญผะเหวด" เป็น 1 ในประเพณี ฮีต 12 ตามวิถีวัฒนธรรมของชาวอีสาน
"บุญผะเหวด" จัดอยู่ในฮีตที่ 4 หรือ บุญเดือนสี่ คำว่า "ผะเหวด" เป็นภาษาอีสาน มีที่มาจากงานประเพณีพระเวสสันดรชาดกในภาษาภาคกลาง หรืองานบุญมหาชาติ ที่เป็นพระนามขององค์สัมมาสัมพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายก่อนที่พระองค์จะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ พระเวสสันดร ถือว่าเป็นชาติที่สำคัญยิ่งเนื่องจากเป็นชาติที่พระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมีอย่างใหญ่หลวง

บุญผะเหวดร้อยเอ็ด เป็นงานบุญอันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาวร้อยเอ็ดมานานกว่า 100 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะได้รับการฟื้นฟูให้เป็นประเพณีประจำจังหวัดขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2534 โดยสุพร สุภสร ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดสมัยนั้นพร้อมด้วยชาวร้อยเอ็ดทุกคน
การจัดงานบุญผะเหวดของชาวร้อยเอ็ดนั้น มีความเชื่อกันว่าหากได้ฟังเทศน์บุญผะเหวดครบ 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียวและจัดพิธีตั้งเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตร ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ แต่ในทางกลับกันหากตั้งเครื่องคายไม่ถูกต้อง ก็จะดลบันดาลให้เกิดอาเพศต่าง ๆ นานา
ทั้งนี้การจัดงานบุญผะเหวดแต่ละครั้งเป็นงานบุญสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านได้แรงร่วมใจกันจัดขึ้น นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังแฝงไว้ด้วยความเชื่อหลายประการเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ ความเชื่อเรื่องพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระผู้รักษาพิธีให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีพญามารมารบกวน


image รูปภาพ
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar